วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

                 ซอฟต์แวร์ (software)
ซอฟต์แวร์ คือการลำดับขั้นตอนของการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บและนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่นแผ่นบันทึก แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป้นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
                  ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
                 1.ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )
ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือการทำงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอัคระแล้วแปรความหมายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าใจนำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกๆไปยังเครื่องพิมพ์จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง
System Software  หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดี DOS . WINDOWS .Unix.linux รสมทั้งโปรแกรมที่เขียนในระดับสูง เช่นภาษา Baic,fortran,pascanl,cobol,c เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น  Norton s utilties  ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
                     หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกเช่นรับรู้การส่งแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระัส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ติดต่อจากอุปกรณ์รับเข้าและส่่งออกอื่นๆเช่นเมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลักหรือในทำนองกลับกันคือนำข้อมูลจากหน่วยความจำมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3)ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้่กับเครืืองคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่นการขอดูรายงานในสารบบ( directory ) ในแผ่นยบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล 
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
            ซอฟแวร์ประยุกต์ 
 2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์     (Application  Software)
  ซอฟแวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ใช้ทำงานเฉพาะ ด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน  การนำเสนองาน การจักทำบัญชี การจัดแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซด์ เป็นต้น
        ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพราะ ( Proprietary  Software)
2 ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software)  มีทั้งโปรแกรมเฉพราะ( Custonized package )และโปรแกรม มาตาฐาน (stamdard package  )
      แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆดังนี้
1กลุ่มก่ชารใช้งานทางด้านธุรกิจ  Business
2.กลุ่มการใช้งานด้านฟราฟิกและมัลติมีเดีย  Graphic and Multimedia 
3.กลุ่มการใช้
งานบนเว็บ Communications
     กลุ่มการใช้งานทางด้สนธุรกิจ Buswiness
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสารการนำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต้างๆตัวอย่างเช่น
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word , Sun starOffice Wrter
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิMicrosoft  Excel    Sun starOffice  Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิMicrosoft POwerPoint,  Sun starOffice  Impress
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้งานง่ายขึ้นเช่นการตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมออกแบบ อาทิ   icrosoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW, Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอเสียง อาทิ Adobe Premiere , Pinnacle Studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authrware, Toolbook Instructor,Adobe Dieretor
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash , Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเน็ตซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้นเช่นโปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล์ การท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ การส่งข้อความติดต่อสื่อสารการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
โปรแกรมจัดการอีเมล์อาทิ Microsoft Outlook , Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer ,Mozzila Firefox
โปรแกรมประชุมทางไกล Vido Comference อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมส่งข้อความด่วน Instnt Messaging อาทิ MSN Messenger Wi21ndows Messenger , ICQ
โปรแกรมสนทนา บนอินเตอร์เน็ต อาทิ PIRCH , MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจจดจำได้ยากจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรุปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ 
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้องจำต้องเป็นสื่อกลางถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้วเรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการ การใช้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อการสำหรับการตัดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
ภาษาเครื่อง Machine Languages
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญานทำทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์รหัสแทนข้อมุลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจจดจำได้ยากจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
ภาษาแอสเซมบลี Assembly Languages
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเอสเซมบลี ช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาเอสเซมบลีก็ยังมีความไกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้แปลภาษาที่เรียกว่าเอสเซสเบลอร์ Assembler เพื่อแปลชุดภาษาเอสเซมบลี ให้เป้นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูง High-Level Languages 
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะ เป็นโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้นคนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นเนื่องจากภาษาระดับสูงไกล้เคียงภาษามนุษย์ตัวแปลภาษาระดัีบสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
คอมไพเลอร์ Compiler และ อินเทอร์พรีเตอร์ Interpreter
คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นระดับสูงทั้งโปรแกรมที่เป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลที่ละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วจึงมากทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไปข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์ จึงอยุ่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกัน คือ
      1. ประเภทใช้งานเดียว( Single - tasking )ระบบปฏิบัติประเภทจะกำหหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้นใช้ในเครื่องขนาดเล็ก ไมโครคอมพิวเตอร์เช่นระบบปฏิบัติการ ดอส เป็นต้น